เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง


   ประวัติความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง




      ระบบเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 18 กรกฏาคม 2517 โดยเริ่มต้นจากพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเน้นความสำคัญในการพัฒนาประเทศแบบสร้างพื้นฐานคือ "ความพอมีพอกิน พอใช้"
        ต่อมาพระองค์มีพระราชดำรัสอีกครั้งเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2517 ณ ศาลาดุสิตดาลัยเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาทรงเน้นคำว่า "พอมีพอกิน" ดังนั้นคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงมาจากจุดเริ่มต้นว่า "พอมีพอกินพอใช้" นั่นเอง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
- เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศหรือภูมภาคหนึ่งๆในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
- เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถในระดับบุคคลที่ดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน
- เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยกิจกรรม 4 อย่าง คือการผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยนและการจัดสรรผลตอบแทน 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
- เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาแลับริหารเศรษฐกิจชองรัฐ
- เศรษฐกิจพอเพียงมีแนวดำเนินงานไปใน"ทางสายกลาง"ตามหลักพระพุทธศาสนา

แนวทางปฏิบัติตามเศรษฐกิจอเพียง
- ยึดความประหยัด ลดค่าใช้จ่ายทุกด้าน ลดค่าฟุ่มเฟือย
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต
- ละเลิกแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันทางการค้า
- ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจาความทุกข์ยาก
- ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วให้หมดสิ้นไป

ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง
- ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
- ใช้เป็นรากฐานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
- รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร
- ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนตามโครงการต่างๆ
- ให้เป็นหลักปฏิบัติในการควบคุมจิตใจม่ให้หลงระเริงไปกับสิ่งฟุ้งเฟ้อตามกระแสทุนนิยมโลก
- ส่งเสริมให้เกิดความรักสามัคคีในกลุ่มและชนชาติ
- เกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- ช่วยให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติตามท้องถิ่นต่างๆ
- เสริมสร้างความมั่นคงของชาติได้ตามนโยบายของรัฐ
- ประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพต่างๆ



เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฏีใหม่
   "ทฤษฏีใหม่"เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้เพื่อเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วหลักเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ

ทฤษฏีใหม่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
   การปฏิบัติตามแนวทางทฤษฏีใหม่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีแนวพระราชดริสรุปได้ดังนี้
  1. เกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินอย่างน้อย ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งเป็นที่ถือครองโดยเฉลี่ยของเกษตกรโดยทั่วๆไป
  2. ให้เกษตกรมีความพอเพียงโดยเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ต้องมีความสามัคคีกันในท้องถิ่น 
  3. มีข้าวบริโภคเพียงพอประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี
  4. เพื่อการนี้จะต้องใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยที่ว่าต้องมีน้ำใช้ระหว่างช่วงฤดูแล้ง 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อ 1 ไร่ 
การดำเนินงานตามทฤษฏีใหมมี 3 ขั้นตอน คือ
  1. การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆค่อยเป็นค่อยไปตามกลังให้พอมีพอกิน
  2. การรวมพลังกันในรูปแบบหรือสหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา
  3. การดำเนินธุรกิจโดยติดต่อ ประสานงาน จัดหาทุนหรือแหล่งเงิน
  ขั้นแรกเป็นการผลิต ถือเ้ป็นขั้นสำคัญที่สุดโดยให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 

ใน30%แรกคือการขุดสระกักเก็บน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สมำเสมอตลอดปีโดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งหรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ฯลฯ โดยพระราชทานแนวทางการคำนวณว่า ต้องการน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก 1ไร่ โดยประมาณ 



ใน30% ที่สองคือการทำนาปลูกข้าว เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปีโดยไม่ตองซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ เนื่องจากคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักโดยมีหลักเกณฑ์เฉลี่ยเกษตกรบริโภคข้าว คนละ 200 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อปีซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี


ใน30% ที่สามคือการปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกันและหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากหรือจากการบริโคก็สามารถนำไปขายได้


และอีก10% ที่เหลือคือ เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆรวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะช ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ


ทฤษฏีใหม่ขั้นที่สอง:ขั้นดำเนินการ มีดังนี้

  1. การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ ) เกษตกรจะต้องร่วมมือในการผลิต โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การจัดการน้ำ และอื่นๆ 
  2. การตลาด (ลานตกข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายการผลิต) เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องเตรียมการต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด
  3. การเป็นอยู่ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) ในขณะเดียวกันเกษตกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต 
  4. สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้) ในแต่ละชุมชนมรสวัสดิิการและบริการที่จำเป็น 
  5. การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา) ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชน
  6. สังคมและศาสนา (ชุมชน วัด) ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น
ทฤษฏีใหม่ขั้นที่สาม:ขั้นก้าวหน้า
  การร่วมมือกับแหล่งเงิน(ธนาคารและแหล่งพลังงาน)
     เมื่อกิจการขั้นที่1และขั้นที่ 2 เจริญเติบโตเกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตกรควรพัฒนา ก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่ 3 คือต้องร่วมมือกับแห่งเงินทุน(ธนาคาร) แหล่งพลังงาน(บริษัทน้ำมัน)และบริการโรงสีหรือบริษัทห้างร้านเอกชนมาช่วยพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า ทั้งฝ่ายเกษตกรและฝ่ายธนาคารบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกันคือ
- เกษตกรขายข้าวได้ราคาสูง(ไม่ถูกกดราคา)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคราคาต่ำ(ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตกรและมาสีเอง)
- เกษตกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคราคาต่ำ เนื่องจากรวมกันซื้อเ็ป็นจำนวนมาก(เป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง)
- ธนาคารหรือบริษัทเอกชนจะสามารถกระจายบุคลากรเพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆให้เกิดผลดียิ่งขึ้น

โครงการตัวอย่างเศรษฐกิจ ในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ

  เมื่อทราบชื่อโครงการตามพระราชดำริว่า "โครงการชั่งหัวมัน" หลายท่านก็คงจะสงสัยว่าโครงการตามพระราชดำรินี้ เป็นโครงการเกี่ยวกับอะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร ต่างก็ตีความกันไปต่างๆนานาจึงจะมาทำความเข้าใจโครงการนี้ว่ามีที่มาอย่างไร ที่พระองค์ท่านได้ทรงกระทำให้แก่บ้านเมืองของเราอีกโครงการหนึ่ง จากจำนวนทั้งหมด 4,000 กว่าโครงการ



ประวัติความเป็นมา
     เมื่อปี พ.ศ.2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซื้อที่ดินจากราษฏรบริเวณอ่างเก็บน้ำ หนองเสือ ประมาณ 120 ไร่ และต่อมาปี พ.ศ. 2552 ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.ท่ายาง จ.เพรชบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ โดยเรื่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา และพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้องทรงงานที่วังไกลกังวลให้นำมาปลูกไว้ที่นี่ พระราชทานชื่อโครงการว่า"โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ"

 วัตถุประสงค์ของโครงการ
  1. เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจ พืชพันธุ์ดีของอ.ท่ายางและของจ.เพรชบุรี
  2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร
  3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจำทำแปลงหรือมาช่วยงานพระองค์
 การดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ
- การใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทดแทน
- การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ 
- การสาธิตการปลูกสบู่ดำ
- การปลูกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ
- แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตชมพู่เพชรสายรุ้้ง
- แปลงศึกษาและส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
- การทำปุ๋ยหมัก
- การปลูกไม้ผล พืชไร่ ประกอบด้วย แก้วมังกร กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก มะละกอ มะนาว ฟักทอง กล้วย อ้อย มะพร้าวน้ำห้อม มะพร้าวห้าว ฯลฯ
- การปลูกพืชผัก ประกอบด้วย มันเทศ กระเพรา โหระพา พริกพันธุ์ซูเปอร์ฮอต มะเขือเทศราชินี กระเจี้ยบเขียว วอร์เตอร์เครส มะระขี้นก ผักหวานบ้าน ฯลฯ

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552


"ชั่งหัวมัน" หมายถึง การชั่งน้ำหนักมันเทศ
 คุณดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ได้กรุณาให้ข้อมูลถึงที่มาของโครงการชั่งหัวมันว่าครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทรงมีพระราชประสงค์ให้ นำมันเทศที่ชาวบ้านนำมาถวาย วางไว้บันตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด้จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ พอพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังพระราชวังไกลกังวล จึงพบว่า มันเทศที่วางบนตาชั่ง มีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หา พื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ

เป้าหมายของโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อ.ท่ายาง จ.เพรชบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด โครงการชั่งหัวมันเป็นการบริหารทัรพยากรแบบบูรณาการโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยคาดว่าอนาคตจะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม

ที่ตั้งของโครงการ
 อยู่ที่ บ้านหนองคอกไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี